โดย
บริษัท โรเดียม คอนซัลแทนท์ จำกัด
RHODIUM CONSULTANT CO.,LTD.
(ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ประเภทนิติบุคคล จาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เลขที่ น.๐๐๐๒/๕๘)
ให้บริการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ และ ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๐ ที่ได้บัญญัติว่า เจ้าของ/ผู้ครอบครองโรงงานควบคุม และ เจ้าของ/ผู้ครอบครองอาคารควบคุม ต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน1 และให้มีการจัดการพลังงาน2 ในโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุม และต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรอง2การจัดการพลังงานที่ได้จัดทำขึ้นนั้น โดย ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฏหมาย3
1 กฏกระทรวงกำหนดคุณสมบัติ หน้าที่ และจำนวนของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พ.ศ.๒๕๕๒
2 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ.๒๕๕๒
3 กฏกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ.๒๕๕๕
หลังจากที่ได้มี "กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต และการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ.๒๕๕๕" (เมื่อ 11 พ.ค.2555) และ "ประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ.๒๕๕๖" (เมื่อ 29 ม.ค.2556) ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
จากนั้นจึงได้เริ่มมีกระบวนการเพื่อจะรับขึ้นทะเบียนของผู้ตรวจสอบและรับรอง ซึ่งกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ได้ดำเนินการคัดเลือกก จากผู้สมัครนับพันคนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เบื้องต้นให้เข้ารับการฝึกอบรมและสอบวัดความรู้ ทั้งในระดับผู้ชำนาญการ และระดับผู้ช่วยผู้ชำนาญการ
โดยครั้งแรกในปี 2556 เริ่มจากระดับผู้ช่วยผู้ชำนาญการได้เปิดรับทั้งสิ้น 12 รุ่น (เข้าอบรม 662 คน สอบผ่าน 616* คน) ต่อมาได้คัดเลือกบุคคลจากจำนวน 616 คน ที่สอบผ่านและสมัครเพื่อเข้ารับการอบรมและทดสอบในหลักสูตร ผู้ชำนาญการ ทั้งสิ้นอีก 4 รุ่น (เข้าอบรม 222 คน สอบผ่าน 151* คน) ได้ผู้ผ่านกระบวนการ ระดับชั้นผู้ชำนาญการ 151* คน และ ระดับผู้ช่วยผู้ชำนาญการอีก 465* คน
ต่อมาปี 2557 เปิดอบรมอีก 12 รุ่น ซึ่งในระดับผู้ช่วยผู้ชำนาญการอบรมไปแล้ว 511 คน สอบผ่าน 408* คน และระดับผู้ชำนาญการอบรมไปแล้ว 131 คน สอบผ่าน 53* คน
และปี 2558 เปิดอบรมระดับผู้ชำนาญการอีก 2 รุ่น โดยคัดเอาผู้ที่เคยผ่านการอบรมระดับผู้ช่วยผู้ชำนาญการไปแล้วที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ หรือผู้ที่เคยเข้าสอบในระดับผู้ชำนาญการแต่สอบไม่ผ่านในรอบก่อนๆ มาอบรมอีกจำนวน 121 คน โดยมีผู้สอบผ่านทั้ง 2 รุ่นรวมทั้งสิ้น 50* คน
กที่ต้องคัดเลือกเนื่องจากตามความของ หมวด ๗ ในมาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ระบุให้ อธิบดีสามารถอนุญาตให้บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้ดำเนินการแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ฉะนั้นการปฎิบัติงาน ในเรื่องของ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน การใช้พลังงานในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ และคุณภาพวัสดุหรืออุปกรณ์ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ตรวจสอบจะปฎิบัติงานแทนเสมือนพนักงานเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นั่นเอง
*จำนวนผู้ที่สอบผ่านบันทึกเฉพาะการสอบผ่านในครั้งแรกเท่านั้น ไม่ได้บันทึกรวมกับจำนวนผู้ที่สอบผ่านด้วยวิธีซ่อมหรือสอบผ่านในรอบถัดๆมา (ผู้เข้าสอบสามารถสอบซ่อมแก้ตัวได้หากสอบครั้งแรกไม่ผ่าน)
โดยผู้ตรวจสอบและรับรองที่เข้าตรวจสอบพลังงาน ตามข้อกำหนดของกฏหมายจะต้องมีคณะทำงาน อันประกอบไปด้วย ผู้ชำนาญการ 1 คน และ ผู้ช่วยผู้ชำนาญการอีก 2 คน จัดเป็น 1 ทีมงาน (ต่างจากผู้ตรวจสอบอาคารที่ไม่บังคับ) ดังนั้นจากการคาดการณ์จำนวนผู้ผ่านการสอบวัดความรู้ในระดับผู้ชำนาญการ เมื่อ พพ.เปิดรับขึ้นทะเบียนในช่วงแรกน่าจะมีผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน มีจำนวน ไม่เกิน 50-100 ทีมงาน
(เนื่องจากผู้ผ่านการอบรมบางคนทำงานหลักเป็น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงาน ลูกจ้างตามหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ ที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจด้านการตรวจสอบพลังงานโดยตรง ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถรวมทีมเพื่อรับทำงานตรวจรับรองการจัดการพลังงานในเวลาราชการปกติได้ อันเป็นการไม่สะดวกสำหรับทีมงานให้ครบพร้อมกันทั้ง 3 คน อีกทั้งผู้สอบผ่านในระดับผู้ชำนาญการบางท่านก็ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาเครื่องกล..ตามกฏหมายวิศวกร ทำให้ไม่สามารถขึ้นทะเบียนระดับผู้ชำนาญการได้ หรือบางท่านก็ได้ไปประกอบอาชีพอื่นแล้ว)
จากข้อกฏหมายที่กำหนดให้แต่ละทีมงานสามารถทำการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานได้ไม่เกิน 30 อาคาร ในแต่ละรอบปี และเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการคือ ห้ามเป็นผู้ตรวจสอบให้กับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นในเวลาเดียวกัน และต้องไม่เป็นบุคลากรของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมที่เข้าไปตรวจสอบด้วย
ขณะนี้บริษัทฯเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต "ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน" ประเภทนิติบุคคล เลขที่ น.๐๐๐๒/๕๘ จาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
.jpg)
ใบอนุญาตเป็น ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ประเภทนิติบุคคล
จาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เลขที่ น.๐๐๐๒/๕๘
นิยามความหมาย ใน พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
โรงงาน หมายความว่า โรงงานตามกฏหมายว่าด้วยโรงงาน
เจ้าของโรงงาน หมายความรวมถึงผู้รับผิดชอบในการบริหารโรงงานด้วย
อาคาร หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
เจ้าของอาคาร หมายความรวมถึงบุคคลอื่นซึ่งครอบครองอาคารด้วย
โรงงานควบคุม หมายถึง โรงงานที่มีพระราชกฤษฎีกาให้เป็นโรงงานควบคุมตามมาตรา ๘
อาคารควบคุม หมายถึง อาคารที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นอาคารควบคุมตามมาตรา ๑๘
กำหนดให้อาคารหรือโรงงานดังต่อไปนี้ เป็นอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุม ต้องปฎิบัติตามกฎหมายการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
โรงงานหรืออาคารที่ได้รับอนุมัติจากผู้จำหน่ายพลังงาน ให้ใช้เครื่องวัดไฟฟ้า หรือ ให้ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ชุดเดียวหรือหลายชุดรวมกันมีขนาด ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ kW (กรณีเครื่องวัด) หรือ ๑,๑๗๕ kVA (กรณีหม้อแปลง) ขึ้นไป
หรือ
ใช้ไฟฟ้าจากระบบของผู้จำหน่ายพลังงาน ความร้อนจากไอน้ำจากผู้จำหน่ายพลังงาน หรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นจากผู้จำหน่ายพลังงานหรือของตนเองอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ผ่านมา มีปริมาณพลังงานทั้งหมดเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่ ๒๐ ล้านเมกะจูลขึ้นไป
(อ้างอิง : พระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุม พ.ศ.๒๕๓๘ และ พระราชกฤษฎีกากำหนดโรงงานควบคุม พ.ศ.๒๕๔๐)
คำถาม ถ้าเจ้าของ/ผู้ครอบครอง โรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมไม่ปฎิบัติตามกฎหมายการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จะเกิดอะไรไหม
คำตอบ เจ้าของ/ผู้ครอบครอง โรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุม ต้องปฎิบัติตาม เนื่องจากจะเป็นผลดีกับกิจการของตน เป็นการลดการใช้พลังงานที่สูญเปล่า โดยใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รวมถึงสามารถลดต้นทุนด้านพลังงานลงกว่าเดิม ฯลฯ หากไม่ทำตามกฏกระทรวงนี้จะ ถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้ไฟฟ้า ที่ซื้อหรือได้มาจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แล้วแต่กรณี ซึ่งผู้จำหน่ายไฟฟ้าจะเป็นผู้จัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้ไฟฟ้าจากอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุมพร้อมกับการจัดเก็บค่าไฟฟ้าปกติประจำเดือน แล้วนำเงินค่าธรรมเนียมพิเศษนี้ส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงถูกพิจารณาระงับสิทธิการขอรับการส่งเสริมและช่วยเหลือแก่โรงงานควบคุม หรืออาคารควบคุมอีกด้วย (บัญญัติไว้ในหมวด ๖ ของ พ.ร.บ.)
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๕๕ บัญญัติว่า "เจ้าของโรงงานควบคุม เจ้าของอาคารควบคุม หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงานผู้ใดไม่ปฎิบัติตามกฏกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๙ก หรือมาตรา ๒๑ข ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท"
กมาตรา ๙ เจ้าของโรงงานควบคุมต้องอนุรักษ์พลังงาน ตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานในโรงงานของตน ตามมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง........
ขมาตรา ๒๑ เจ้าของอาคารควบคุมต้องอนุรักษ์พลังงาน ตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคารของตน ตามมาตรฐานหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง......
ซึ่งจาก กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ.๒๕๕๒ ใน ข้อ ๑๐ บัญญัติว่า ให้เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมโดยผู้ตรวจสอบและรับรอง...
และข้อ ๑๑ กำหนดให้ เจ้าของอาคารควบคุม และเจ้าของโรงงานควบคุม ส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานของปีที่ล่วงมา ให้แก่อธิบดี* ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี... โดยให้กระทำไปเป็นวัฎจักรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
*อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดีฯ มอบหมาย
มาตรา ๖๐ บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ หรือผู้จัดการของนิติบุคคลนั้น หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น"
มาตรา ๕๖ บัญญัติว่า "ผู้รับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน การใช้พลังงานในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ และคุณภาพวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดรายงานผลการตรวจสอบและรับรองตามมาตรา ๔๗(๓) อันเป็นเท็จหรือไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

คู่มือการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน